วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

ชาวต่างชาติที่มีบทบาทสำคัญต่อประเทศไทย


กัปตันเหล็ก (ฟรานซิส ไลท์)


กัปตันเหล็ก เป็นพ่อค้าชาวอังกฤษที่เข้ามามีบทบาทในกิจการค้าขายในแถบหัวเมือง มลายู ระหว่างรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทำความดีความชอบ โดยการจัดหาอาวุธปืนมาถวายแก่พระมหากษัตริย์ไทย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น "พระยาราชกปิตัน" บางครั้งจึงเรียกเป็นพระยาราชกปิตันเหล็ก

กัปตันเหล็ก หรือ ฟรานซิส ไลท์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2283 ที่เมืองคัลลิงตัน ในซัฟฟอร์ค เคยเป็นนายทหารเรือแห่งราชนาวีอังกฤษ แต่ภายหลังหันมาทำการค้าขาย ได้มาตั้งบ้านเรือน ทำการค้าขายอยู่ที่เกาะถลาง เมื่อประมาณ พ.ศ. 2314 รู้จักสนิทสนมกับพระยาถลางภักดีภูธร และคุณหญิงจันทร์ ทั้งยังเป็นที่รู้จักนับถือของชาวเมืองทั่วไปด้วย ในปีถัดมาก็ได้สมรสกับ มาร์ติน่า โรเซลล์ สตรีเชื้อสายโปรตุเกสไทยและมาเลย์ มีบุตร 5 คน ชื่อ ซาร่าห์ วิลเลียม แมรี่ แอน และฟรานซิส

ในปี พ.ศ. 2319 กัปตันเหล็กได้ส่งปืนนกสับ เข้ามาถวายสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และภายหลังได้เป็นผู้ติดต่อซื้ออาวุธ ให้แก่ทางราชการ พร้อมๆ กับทำหน้าที่เป็นกำลังสำคัญให้อังกฤษ ได้เจรจากับสุลต่านแห่งไทรบุรี ขอเช่าเกาะปีนังเป็นผลสำเร็จในปี พ.ศ. 2329 จึงได้รับแต่งตั้งจากรัฐบาลอังกฤษ ให้เป็นผู้ว่าราชการเกาะปีนัง และตั้งชื่อเกาะปีนังใหม่ว่า เกาะปริ้นซ์ ออฟ เวลส์ (Prince of Wales Islands) กัปตันเหล็กได้ถึงแก่กรรมใน พ.ศ. 2337

บุคคลสำคัญของประเทศไทย


สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี


พระราชประวัติ


สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีพระนามเดิมว่า สังวาลย์ ตะละภัฏ พระราชสมภพเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๓ ทรงเป็นบุตรคนที่ ๓ ใน พระชนกชู และ พระชนนีคำ ทรงมีพระภคินี และพระเชษฐา ๒ คนซึ่งได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่เยาว์วัย คงเหลือแต่พระอนุชาอ่อนกว่าพระองค์ ๒ ปี คือ คุณถมยา


ต่อมาเมื่อพระองค์ถูกส่งไปศึกษาที่โรงเรียนสตรีวิทยา โดยประทับอยู่บ้าน คุณหวน หงสกุล เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๖ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงตัดสินพระทัยเข้าโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์ และหญิงพยาบาลแห่งศิริราช ตามคำชักชวนจากพระยาดำรงแพทยกุล หลังจากสำเร็จการศึกษา ทรงได้รับการคัดเลือกให้ไปทรงศึกษาวิชาพยาบาลต่อที่ โรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดสหรัฐอเมริกา พร้อมกับนางสาวอุบล ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา และ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์


ขณะที่กำลังทรงศึกษาวิชาแพทย์ปีที่ ๑ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงพบและพอพระทัยกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ด้วยมีพระสิริโฉมงดงาม พระอุปนิสัย และพระคุณสมบัติอื่นๆ ดังนั้นสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์จึงทรงมีลายพระหัตถ์กราบบังคมทูลสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระราชมารดาขอพระราชทานพระราชานุญาตหมั้นกับ นางสาวสังวาลย์ และเมื่อถึงวันศุกร์ที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๓ ได้มีพิธีอภิเษกสมรสที่วังสระปทุม และหลังจากได้อภิเษกสมรสแล้ว ทั้ง ๒ พระองค์ได้ตามเสด็จด้วยกันไปประพาสเมืองต่างๆ ในทวีปยุโรป และ สหรัฐอเมริกา เพื่อทรงไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และสถาบันเอ็มไอที เมืองบอสตัน ส่วนสมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงเรียนหลักสูตรเตรียมพยาบาลที่วิทยาลัยซิมมอนส์ เมืองบอสตัน


หลังจากทั้ง ๒ พระองค์ทรงจบการศึกษาแล้ว จึงทรงเสด็จไปที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งสมเด็จพระบรมราชชนนี ได้ประสูติพระราชธิดาพระองค์แรก เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามว่า หม่อมเจ้ากัลยาณิวัฒนา มหิดล ซึ่งภายหลังทรงได้รับการสถาปนาพระอิสริยศักดิ์เป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์


ในเดือน ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ ทั้ง ๒ พระองค์ได้เสด็จกลับเมืองไทยพร้อมด้วยพระราชธิดา เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมราชชนกทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย ประทับอยู่ได้ประมาณ ๒๐ เดือน ก็ทรงประชวร แพทย์จึงถวายคำแนะนำให้ประทับในที่อากาศเย็น ที่เมือง ไฮเดลเบอร์ก ประเทศเยอรมนี สมเด็จพระบรมราชชนนี และพระราชธิดาจึงได้ตามเสด็จไปประทับด้วย


สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้ประสูติพระราชโอรสพระองค์แรก เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระนามว่า หม่อมเจ้าอานันทมหิดล


ในวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต ทั้ง ๒ สมเด็จพระบรมราชชนกจึงทรงต้องเสด็จกลับกรุงเทพฯ เพียงพระองค์เดียว เพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพ และประทับอยู่จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๖๙

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ พระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้ประสูติพระราชโอรสองค์ที่สองที่ โรงพยาบาลเมาท์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ สหรัฐอเมริกา ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช


ขณะที่สมเด็จพระบรมราชชนกทรงศึกษาวิชาแพทย์ปีสุดท้ายอยู่ที่เมืองบอสตัน ทรงประชวรโรคพระวักกะกำเริบ และพระโรคหวัด แต่ก็ยังทรงสามารถสอบได้ปริญญาแพทยศาสตร์ขั้นเกียรตินิยม แต่หลังจากสอบเสร็จ และประชวรพระโรคไส้ติ่งอักเสบ ทั้งสองพระองค์ได้พาพระราชโอรสธิดาเดินทางกลับประเทศไทย โดยประทับที่พระตำหนักใหม่สร้างขึ้นในวังสระปทุม ถนนพญาไท


เมื่อเดือน เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๒ สมเด็จพระบรมราชชนกทรงรับเชิญเป็นแพทย์ประจำบ้าน จากโรงพยาบาลแมคคอร์มิก จังหวัดเชียงใหม่ และในเดือนต่อมาก็ทรงเสด็จกลับกรุงเทพมหานคร หลังจากนั้นก็ทรงพระประชวรอยู่ เป็นระยะเวลาประมาณ ๔ เดือนก็สิ้นพระชนม์ เมื่อ วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒ ที่พระตำหนักใหม่ วังสระปทุม ในขณะที่สมเด็จพระบรมราชชนกสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงมีพระชนมายุเพียง ๒๙ พรรษา ทรงต้องรับหน้าที่อบรมเลี้ยงดูพระราชโอรสธิดาทั้งสามพระองค์ตามลำพัง



เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ประกาศสถาปนา พระอิสริยยศสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเป็น สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ นอกจากนั้นพระองค์ยังพระราชทานเงินส่วนพระองค์สร้างโรงพยาบาลอานันทมหิดล จังหวัดลพบุรี สร้างสุขศาลา จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑



พระราชกรณียกิจ


พระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่ทรงมีต่อชาวไทยและประเทศชาตินั้นใหญ่หลวงมาก เพราะตั้งแต่ทรงเษกสมรสกับสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ ทรงมีพระอุตสาหวิริยะสูงในการทรงงาน เพื่อประโยชน์สุขของปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ตั้งแต่เหนือสุด จรด ใต้สุด



การแพทย์ พยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา
สมเด็จย่าทรงจัดตั้งหน่วยและมูลนิธิที่สำคัญขึ้น ดังนี้
- หน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี(พอ.สว.) เป็นหน่วยแพทย์อาสาเคลื่อนที่ที่เดินไปในถิ่นทุรกันดาร ประกอบด้วย แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และสมาชิกสมทบอีกคณะหนึ่ง ซึ่งไม่ได้รับสิ่งตอบแทน และ เบี้ยเลี้ยง เงินเดือน - มูลนิธิขาเทียม จัดตั้งเมื่อ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ - มูลนิธิถันยรักษ์ ที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ เพื่อใช้เป็นสถานที่ตรวจวินิจฉัยเต้านม - ทรงบริจาคเงินเพื่อสร้างโรงเรียนกว่า ๑๘๕ โรงเรียน และทรงรับเอาโครงการของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนไว้ในพระราชูปถัมภ์


การอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม


พระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเป็นพระราชวงศ์ที่โปรดธรรมชาติมาก ทรงสร้างพระตำหนักดอยตุง ขึ้นบริเวณดอยตุง เนื้อที่ ๒๙ ไร่ ๓ งาน ที่บ้านอีก้อป่ากล้วย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เอง ในพื้นที่เช่าของกรมป่าไม้เป็นเวลานาน ๓๐ ปี มีความสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ ๑๐๐๐ เมตร โดยทรงเรียกพระตำหนักนี้ว่า บ้านที่ดอยตุง ทรงพัฒนาดอยตุง และส่งเสริมงานให้ชาวเขาอีกด้วย ดังนี้

- โครงการพัฒนาดอยตุง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๑


- ทรงพระราชทานกล้าไม้แก่ผู้ตามเสด็จ และทรงปลูกป่าด้วยพระองค์เอง


- ทรงนำเมล็ดกาแฟพันธุ์อาราบิกา และไม้ดอกมาปลูก


- โครงการขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหน่อไม้ฝรั่ง กล้วย กล้วยไม้

เห็ดหลินจือ สตรอเบอร์รี่


- จัดตั้งศูนย์บำบัด และฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ที่บ้านผาหมี ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย


จากพระราชอุตสาหะดังกล่าว และโครงการที่ยังมิได้นำเสนอขึ้นมาข้างต้นนี้ ยอดดอยที่เคยหัวโล้นด้วยการถางป่า ทำไร่เลื่อนลอยปลูกฝิ่น จึงได้กลับกลายมาเป็นดอยที่เต็มไปด้วยป่าไม้ตามเดิม ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงได้รับขนานนามว่า สมเด็จย่าแม่ฟ้าหลวง จากชาวไทย ของชาวไทย

ในวันอังคารที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงได้เสด็จสวรรคต แต่พระเกียรติคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงปรารถนาให้ชาวไทยมีความสุข ยังคงสถิตถาวรอยู่ในความทรงจำของพสกนิกรทั่วไทยตลอดกาล และในวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพครบรอบ ๑๐๐ ปี องค์การวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ได้เฉลิมพระเกียรติยกย่องให้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเป็น “บุคคลสำคัญของโลก”

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รายงานผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 ก.ค 2554


สำหรับผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ มีดังนี้

1.พรรคเพื่อไทย ได้ ส.ส.แบ่งเขต 201 คน บัญชีรายชื่อ 61 คน รวม 262 คน
2.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ ส.ส.แบ่งเขต 116 คน บัญชีรายชื่อ 44 คน รวม 160 คน
3.พรรคภูมิใจไทย ได้ ส.ส.แบ่งเขต 29 คน บัญชีรายชื่อ 5 คน รวม 34 คน
4.พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ ส.ส.แบ่งเขต 15 คน บัญชีรายชื่อ 4 คน รวม 19 คน
5.พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ได้ ส.ส.แบ่งเขต 6 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 7 คน
6.พรรคพลังชล ได้ ส.ส.แบ่งเขต 6 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 7 คน
7.พรรครักประเทศไทย ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 4 คน
8.พรรคมาตุภูมิ ได้ ส.ส.แบ่งเขต 1 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 2 คน
9.พรรครักษ์สันติ ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน
10. พรรคประชาธิปไตยใหม่ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน
11.พรรคมหาชน ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน

ทั้งนี้ รายชื่อว่าที่ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่ออย่างไม่เป็นทางการ ( ณ วันที่ 4 กรกฎาคม เวลา 11.00 น.) ทั้งหมด 125 คน มีดังนี้

พรรคเพื่อไทย ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อทั้งหมด 61 คน ได้แก่

1.น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
2.ยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย
3.ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง
4.เสนาะ เทียนทอง
5.พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก
6.มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์
7.ปลอดประสพ สุรัสวดี
8.จตุพร พรหมพันธุ์
9.ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
10.สุชาติ ธาดาธำรงเวช
11.พล.ต.ท.ชัชจ์ กุลดิลก
12.จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
13.บัณฑูร สุภัควณิช
14.พ.อ.ดร.อภิวันท์ วิริยะชัย
15.สันติ พร้อมพัฒน์
16.พล.ต.อ.วิรุฬ พื้นแสน
17.พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์
18.วิรุฬ เตชะไพบูลย์
19.เหวง โตจิราการ
20.สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
21.นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล
22.วัฒนา เมืองสุข
23. พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา
24.นิติภูมิ นวรัตน์
25.นางสาวภูวนิดา คุนผลิน
26.สุนัย จุลพงศธร
27.นางระพิพรรณ พงศ์เรืองรอง
28.คณวัฒน์ วศินสังวร
29.อัสนี เชิดชัย
30.นางสาวสุณีย์ เหลืองวิจิตร
31.พันตรี อาณันย์ วัชโรทัย
32.วิรัช รัตนเศรษฐ
33.พรศักดิ์ เจริญประเสริฐ
34.นภินทร ศรีสรรพางค์
35.ถาวร ตรีรัตน์ณรงค์
36.นางวราภรณ์ ตั้งภาภรณ์
37.นางสาวสุนทรี ชัยวิรัตนะ
38.นางสาวตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร
39.สมพล เกยุราพันธุ์
40.นพงศกร อรรณนพพร
41.นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์
42.นางสาวขัตติยา สวัสดิผล
43.ธนเทพ ทิมสุวรรณ
44.นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์
45.เกียรติชัย ติรณศักดิ์กุล
46.วิภูแถลง พัฒนภูมิไท
47.นางเยาวนิตย์ เพียงเกษ
48.พายัพ ปั้นเกตุ
49.นางรังสิมา เจริญศิริ
50.รองศาสตราจารย์เชิดชัย ตันติศิรินทร์
51.กานต์ กัลป์ตินันท์
52.ธนิก มาสีพิทักษ์
53.พิชิต ชื่นบาน
54.ก่อแก้ว พิกุลทอง
55.นิยม วรปัญญา
56.นางสาวจารุพรรณ กุลดิลก
57.อรรถกร ศิริลัทธยากร
58.เวียง วรเชษฐ์
59.อดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์
60.วิเชียร ขาวขำ
61.ประวัฒน์ อุตโมท

พรรคประชาธิปัตย์ ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 44 คน ได้แก่

1.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
2.ชวน หลีกภัย
3.บัญญัติ บรรทัดฐาน
4.เทอดพงษ์ ไชยนันทน์
5.จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
6.กรณ์ จาติกวนิช
7. คุณหญิงกัลยา โสภณพาณิช
8.อภิรักษ์ โกษะโยธิน
9.นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี
10.นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์
11.นายไพฑูรย์ แก้วทอง
12.นายอิสสระ สมชัย
13.นายเจริญ คันธวงศ์
14.นายอลงกรณ์ พลบุตร
15.นายอาคม เอ่งฉ้วน
16.นายนิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์
17.สุทัศน์ เงินหมื่น
18.องอาจ คล้ามไพบูลย์
19.พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
20.วิฑูรย์ นามบุตร
21.ถวิล ไพรสณฑ์
22. นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู
23.พ.อ.วินัย สมพงษ์
24.สุวโรช พะลัง (เสียชีวิต)
25.ดร.ผุสดี ตามไท
26.ปัญญวัฒน์ บุญมี
27.สามารถ ราชพลสิทธิ์
28.นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์
29.ภุชงค์ รุ่งโรจน์
30.นิพนธ์ บุญญามณี
31.นางอานิก อัมระนันทน์
32.โกวิทย์ ธารณา
33.อัศวิน วิภูศิริ
34.ธรรมวิชญ์ โพธิพิพิธ
35.เกียรติ สิทธิอมร
36. บุญยอด สุขถิ่นไทย
37.กนก วงษ์ตระหง่าน
38.พล.อ.พิชาญเมธ ม่วงมณี
39.สุกิจ ก้องธรนินทร์
40.ประกอบ จิรกิติ
41.พีรยศ ราฮิมมูลา
42.กษิต ภิรมย์
43.วีระชัย วีระเมธีกุล
44. นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท
45.วัชระ เพชรทอง

หมายเหตุ: เนื่องจากนายสุวโรช พะลัง ผู้สมัคร ส.ส.ลำดับที่ 24 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน จึงเลื่อนลำดับที่ 45 ขึ้นมาแทน

พรรคภูมิใจไทย ได้ 985,527 คะแนน คิดเป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 5 คน ได้แก่

1.ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
2.ชัย ชิดชอบ
3.เรืองศักดิ์ งามสมภาค
4.นางนาที รัชกิจประการ
5.ศุภชัย ใจสมุทร

พรรครักประเทศไทย ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 4 คน ได้แก่

1.ชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์
2.นายชัยวัฒน์ ไกฤกษ์
3.โปรดปราน โต๊ะราหนี
4.พงษ์ศักดิ์ เรือนเงิน

พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 4 คน ได้แก่

1.ชุมพล ศิลปอาชา
2.พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์
3.นิติวัฒน์ จันทร์สว่าง
4.ยุทธพล อังกินันทน์

พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 4 คน ได้แก่

1.ร.ต.ประพาส ลิมปะพันธุ์
2.ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง

พรรคมาตุภูมิ ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 1 คน ได้แก่

1.พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน

พรรคพลังชล ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 1 คน ได้แก่

1.นายสันตศักย์ จรูญงามพิเชษฐ์

พรรครักษ์สันติ ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 1 คน ได้แก่

1.ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์

พรรคมหาชน ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 1 คน ได้แก่

1.นายอภิรัต ศิรินาวิน

พรรคประชาธิปไตยใหม่ ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 1 คน ได้แก่

1.นางพัชรินทร์ มั่นปาน

และถ้าหากตรวจสอบคะแนน ส.ส.บัญชีรายชื่อเป็นรายภาค จะพบว่า

- ภาคเหนือ เลือกพรรค เพื่อไทย 49.69% พรรคประชาธิปัตย์ 29.67% พรรคชาติไทยพัฒนา 3.60% พรรคภูมิใจไทย 2.00% พรรครักประเทศไทย 1.86% พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 0.93% พรรคมหาชน 0.57% พรรครักษ์สันติ 0.50% พรรคอื่น ๆ อีก 11.18%

- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เลือก พรรคเพื่อไทย 63.49% พรรคประชาธิปัตย์ 13.45% พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 3.32% พรรคชาติไทยพัฒนา 2.08% พรรครักประเทศไทย 1.34% พรรครักษ์สันติ 0.42% พรรคกิจสังคม 0.34% พรรคอื่น ๆ อีก 15.56%

- ภาคกลาง เลือกพรรค เพื่อไทย 38.8% พรรคประชาธิปัตย์ 35.14% พรรคชาติไทยพัฒนา 4.12% พรรครักประเทศไทย 4.1% พรรคภูมิใจไทย 3.36% พรรคพลังชล 1.67% พรรครักษ์สันติ 0.99% พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 0.55% พรรคมาตุภูมิ 0.50% พรรคอื่น ๆ อีก 10.77%

- ภาคใต้ เลือกพรรคประชา ธิปัตย์ 70.42% พรรคเพื่อไทย 7.63% พรรคมาตุภูมิ 3.3% พรรคภูมิใจไทย 2.94% พรรครักประเทศไทย 2.07% พรรคชาติไทยพัฒนา 1.03% พรรคแทนคุณแผ่นดน 0.91% พรรคมหาชน 0.72% พรรคประชาธรรม 0.57% พรรคประชาธิปไตยใหม่ 0.50% พรรคอื่น ๆ อีก 9.91%

- กรุงเทพมหานคร เลือก พรรคประชาธิปัตย์ 41.62% พรรคเพื่อไทย 39.69% พรรครักประเทศไทย 6.89% พรรครักษ์สันติ 2.66% พรรคมาตุภูมิ 0.39% พรรคชาติไทยพัฒนา 0.34% พรรคกิจสังคม 0.27% พรรคภูมิใจไทย 0.26% พรรคอื่น ๆ อีก 7.88%

ขณะที่ผลการเลือกตั้ง ส.ส.แบ่งเขต จำนวนทั้งหมด 375 คน อย่างไม่เป็นทางการ ( ณ วันที่ 4 กรกฎาคม เวลา 11.00 น.) ปรากฏว่า

- พรรคเพื่อไทย ได้ ส.ส.แบ่งเขต ทั้งหมด 201 คน แบ่งเป็นภาคเหนือ 49 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 101 คน ภาคกลาง 41 คน กรุงเทพมหานคร 10 คน ภาคใต้ไม่ได้ ส.ส.

- พรรคประชาธิปัตย์ ได้ ส.ส.แบ่งเขต ทั้งหมด 116 คน แบ่งเป็นภาคเหนือ 13 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 คน ภาคกลาง 25 คน กรุงเทพมหานคร 23 คน และภาคใต้ 50 คน

- พรรคภูมิใจไทย ได้ ส.ส.แบ่งเขต ทั้งหมด 29 คน แบ่งเป็นภาคเหนือ 2 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 13 คน ภาคกลาง 13 คน และภาคใต้ 1 คน ส่วนกรุงเทพมหานครไม่มี ส.ส.

- พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ ส.ส.แบ่งเขต ทั้งหมด 15 คน แบ่งเป็นภาคเหนือ 2 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 คน ภาคกลาง 11 คน และภาคใต้ 1 คน ส่วนกรุงเทพมหานครไม่มี ส.ส.

- พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ได้ ส.ส.แบ่งเขต ทั้งหมด 7 คน แบ่งเป็นภาคเหนือ 1 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6 คน ส่วนภาคกลาง ภาคใต้ และกรุงเทพมหานครไม่มี ส.ส.

- พรรคพลังชล ได้ ส.ส.แบ่งเขต ทั้งหมด 6 คน มาจากจังหวัดชลบุรีทั้งหมด 6 ที่นั่ง

- พรรคมาตุภูมิ ได้ ส.ส.แบ่งเขต 1 คน จากเขต 3 จังหวัดปัตตานี

รายชื่อว่าที่ ส.ส.แบ่งเขต (อย่างไม่เป็นทางการ)

กรุงเทพมหานคร
เขต 1 นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นางสาวอรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 หม่อมหลวงอภิมงคล โสณกุล พรรคประชาธิปัตย์
เขต 4 นายอนุชา บูรพชัยศรี พรรคประชาธิปัตย์
เขต 5 นางสาวลีลาวดี วัชโรบล พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายธนา ชีรวินิจ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 7 นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 8 นายสรรเสริญ สมะลาภา พรรคประชาธิปัตย์
เขต 9 นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี พรรคประชาธิปัตย์
เขต 10 นายชื่นชอบ คงอุดม พรรคประชาธิปัตย์
เขต 11 นายสุรชาติ เทียนทอง พรรคเพื่อไทย
เขต 12 นายการุณ โหสกุล พรรคเพื่อไทย
เขต 13 น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ พรรคเพื่อไทย
เขต 14 นายอนุสรณ์ ปั้นทอง พรรคเพื่อไทย
เขต 15 นายณัฎฐ์ บรรทัดฐาน พรรคประชาธิปัตย์
เขต 16 นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ พรรคเพื่อไทย
เขต 17 นายวิชาญ มีนชัยนันท์ พรรคเพื่อไทย
เขต 18 นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ พรรคเพื่อไทย
เขต 19 นายไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 20 นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ พรรคเพื่อไทย
เขต 21 นางนาถยา เบ็ญจศิริวรรณ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 22 นายสามารถ มะลูลีม พรรคประชาธิปัตย์
เขต 23 นายสุทธิ ปัญญาสกุลวงศ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 24 นายสุรันต์ จันทร์พิทักษ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 25 นางนันทพร วีรกุลสุนทร พรรคประชาธิปัตย์
เขต 26 นายณัฎฐพล ทีปสุวรรณ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 27 นายสากล ม่วงศิริ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 28 พันตำรวจเอกสามารถ ม่วงศิริ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 29 นายเอกนัฎ พร้อมพันธุ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 30 นางอรอนงค์ คล้ายนก พรรคประชาธิปัตย์
เขต 31 นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 32 นายชนินทร์ รุ่งแสง พรรคประชาธิปัตย์
เขต 33 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก พรรคประชาธิปัตย์

ภาคเหนือ

กำแพงเพชร
เขต 1 นายไผ่ ลิกค์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายปรีชา มุสิกุล พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายอนันต์ ผลอำนวย พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายปริญญา ฤกษ์หร่าย พรรคเพื่อไทย

เชียงราย พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ทั้งจังหวัด
เขต 1 นายสามารถ แก้วมีชัย พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายสุรสิทธิ์ เจียมวิจักษณ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 3 น.ส.วิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายรังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายอิทธิเดช แก้วหลวง พรรคเพื่อไทย
เขต 7 น.ส.ละออง ติยะไพรัช พรรคเพื่อไทย

เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทยได้ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 น.ส.ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายกฤษดาภรณ์ เสียมภักดี พรรคเพื่อไทย
เขต 3 น.ส.ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายวิทยา ทรงคำ พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายประสิทธิ์ วุฒินันชัย พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ พรรคเพื่อไทย
เขต 7 นายบุญทรง เตริยาภิรมณ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 8 นายนพคุณ รัฐไผท พรรคเพื่อไทย
เขต 9 นายสุรพล เกียรติไชยากร พรรคเพื่อไทย
เขต 10 นายศรีเรศ โกฏิคำลือ พรรคเพื่อไทย

ตาก พรรคประชาธิปัตย์ได้ยกจังหวัด
เขต 1 นายเธียรชัย สุวรรณเพ็ญ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายธนิตพล ไชยนันทน์ พรรคประชาธิปัตย์

นครสวรรค์
เขต 1 นายสงกรานต์ จิตสุทธิภากร พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมธรรมชัย พรรคภูมิใจไทย
เขต 3 ร.ต.ต.จำเริญ วรทอง พรรคภูมิใจไทย
เขต 4 พ.ต.ท.นุกูล แสงศิริ พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายทายาท เกียรติชูศักดิ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายประสาท ตันประเสริฐ พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน

น่าน พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1นางสิรินทร รามสูต พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายชลน่าน ศรีแก้ว พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายณัฐพงษ์ สุปริยศิลป์ พรรคเพื่อไทย

พะเยา พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 น.ส.อรุณี ชำนาญยา พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายไพโรจน์ ตันบรรจง พรรคเพื่อไทย

แพร่ พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นางปานหทัย เสรีรักษ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายนิยม วิวรรธนดิฐกุล พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล พรรคเพื่อไทย

พิจิตร

เขต1 นายวินัย ภัทรประสิทธิ์ พรรคชาติไทยพัฒนา
เขต 2 นายนราพัฒน์ แก้วทอง พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ พรรคชาติไทยพัฒนา

พิษณุโลก
เขต 1 นายวรงค์ เดชกิจวิกรม พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ พรรคชาติไทยพัฒนา
เขต 3 นายจุติ ไกรฤกษ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 4 นายนิยม ช่างพินิจ พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายนคร มาฉิม พรรคประชาธิปัตย์

เพชรบูรณ์
เขต 1 นายสุทัศน์ จันทร์แสงศรี พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายจักรัตน์ พั้วช่วย พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายยุพราช บัวอินทร์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 4 นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายสุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายเอี่ยม ทองใจสด พรรคเพื่อไทย

แม่ฮ่องสอน
เขต 1 นายสมบัติ ยะสินธุ์ พรรคประชาธิปัตย์

ลำปาง พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1นายสมโภช สายเทพ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายวาสิต พยัคฆบุตร พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายจรัสฤทธิ์ จันทรสุรินทร์ พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายอิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์ พรรคเพื่อไทย

ลำพูน พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายสงวน พงษ์มณี พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายสถาพร มณีรัตน์ พรรคเพื่อไทย

สุโขทัย
เขต 1 นายวิรัตน์ วิริยะพงษ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายสัมพันธ์ ตั้งเบญจผล พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายจักรวาล ชัยวิรัตน์นุกุล พรรคภูมิใจไทย
เขต 4 นายมนู พุกประเสริฐ พรรคภูมิใจไทย

อุตรดิตถ์ พรรคเพื่อไทยได้ยกจังหวัด
เขต 1 นายกนก ลิ้มตระกูล พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย พรรคเพื่อไทย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

กาฬสินธุ์ พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นางบุญรื่น ศรีธเรศ
เขต 2 นางวีระวัฒน์ โอสถานุเคราะห์
เขต 3 นายคมเดช ไชยศิวามงคล
เขต 4 นายพีระเพชร ศิริกุล
เขต 5 นายนิพนธ์ ศรีธเรศ
เขต 6 นายประเสริฐ บุญเรือง

ขอนแก่น พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายจักริน พัฒน์ดำรงจิตร พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นาย ภูมิ สาระผล พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายจตุพร เจริญเชื้อ พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นางมุกดา พงษ์สมบัติ พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายสุชาย ศรีสุรพล พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ พรรคเพื่อไทย
เขต 7 นายนวัธ เตาะเจริญสุข พรรคเพื่อไทย
เขต 8 นางดวงแข อรรณพพร พรรคเพื่อไทย
เขต 9 ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิชย์ พรรคเพื่อไทย
เขต 10 นายเรืองเดช สุพรรณฝ่าย พรรคเพื่อไทย

ชัยภูมิ
เขต 1นายโอชิษฐ์ เกียรติก้องชูชัย พรรคภูมิใจไทย
เขต 2นายมานะ โลหะวณิชย์ พรรคเพื่อไทย
เขต 3น.ส.ปาริชาติ ชาลีเครือ พรรคเพื่อไทย
เขต 4นายอนันต์ ลิมปคุปตถาวร พรรคเพื่อไทย
เขต 5นายเจริญ จรรย์โกมล พรรคเพื่อไทย
เขต 6นางพรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล พรรคเพื่อไทย
เขต 7นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ พรรคเพื่อไทย

นครพนม พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายยุทธจักร เรืองวรบูรณ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นางมนพร เจริญศรี พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายไพจิต ศรีวรขาน พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายชูกัน กุลวงษา พรรคเพื่อไทย

นครราชสีมา
เขต 1 นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
เขต 2 นายวัชรพล โตมรศักดิ์ พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
เขต 3 นายประเสริฐ บุญชัยสุข พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
เขต 4 นางทัศนียา รัตนเศรษฐ พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายโกศล ปัทมะ พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายสุชาติ ภิญโญ พรรคเพื่อไทย
เขต 7 นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ พรรคเพื่อไทย
เขต 8 นายจรูญพงศ์ พันธุ์ศรีนคร พรรคเพื่อไทย
เขต 9 นายพลพรี สุวรรณฉวี พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
เขต 10 นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ พรรคภูมิใจไทย
เขต 11 นายสัมภาษณ์ อัตถาวงศ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 12 นายประนอม โพธิ์คำ พรรคภูมิใจไทย
เขต 13 นายศิรสิทธิ์ เลิศด้วยลาภ พรรคเพื่อไทย
เขต 14 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง พรรคเพื่อไทย
เขต 15 นายวิสิทธิ์ พิทยาภรณ์ พรรคภูมิใจไทย

บึงกาฬ พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายเชิดพงศ์ ราชป้องขันธ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายไตรรงค์ ติธรรม พรรคเพื่อไทย

บุรีรัมย์
เขต 1นายสนอง เทพอักษรณรงค์ พรรคภูมิใจไทย
เขต 2นายรังสิกร ทิมาตฤกะ พรรคภูมิใจไทย
เขต 3นายโสภณ ซารัมย์ พรรคภูมิใจไทย
เขต 4นางอารีญาภรณ์ ซารัมย์ พรรคภูมิใจไทย
เขต 5นายมนต์ไชย ชาติวัฒนศิริ พรรคภูมิใจไทย
เขต 6นายพรชัย ศรีสุริยันโยธิน พรรคเพื่อไทย
เขต 7นายหนูแดง วรรณกางซ้าย พรรคเพื่อไทย
เขต 8นายรุ่งโรจน์ ทองศรี พรรคภูมิใจไทย
เขต 9นายจักรกฤษณ์ ทองศรี พรรคภูมิใจไทย

มหาสารคาม พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1นายสุรจิตร ยนต์ตระกูล พรรคเพื่อไทย
เขต 2นายไชยวัฒน์ ติณรัตน์ พรรคเพื่อไทย
เขต 3นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร พรรคเพื่อไทย
เขต 4นายจิรวัฒน์ ศิริพานิชย์ พรรคเพื่อไทย
เขต 5นางกุสุมาลวตี ศิริโกมุท พรรคเพื่อไทย

มุกดาหาร พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายอนุรักษ์ ตั้งปณิธานนท์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายบุญฐิน ประทุมลี พรรคเพื่อไทย

ยโสธร พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายปิยวัฒน พันธ์สายเชื้อ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายบุญแก้ว สมวงศ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายพีรพันธ์ พาลุสุข พรรคเพื่อไทย

ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายวราวงษ์ พันธุ์ศิลา พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายฉลาด ขามช่วง พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายนิรมิต สุจารี พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายนิรันดร์ นาเมืองรักษ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นางเอมอร สินธุไพร พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายกิตติ สมทรัพย์ พรรคเพื่อไทย
เขต 7 นายศักดา คงเพชร พรรคเพื่อไทย
เขต 8 นายเศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์ พรรคเพื่อไทย

เลย พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นางนันทนา ทิมสวรรณ พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นางเปล่งมณี เร่งสมบูรณ์สุข พรรคเพื่อไทย
เขต 4 ส.อ.วันชัย บุษบา พรรคเพื่อไทย

ศรีษะเกษ
เขต 1 นายธเนศ เครือรัตน์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายสุรชาติ ชาญประดิษฐ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นางอุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์ พรรคภูมิใจไทย
เขต 4 นายวิวัฒน์ชัย โหตระไวศยะ พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายธีระ ไตรสรณกุล พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายวีระพล จิตสัมฤทธิ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 7 นายมานพ จรัสดำรงนิตย์ พรรคเพื่อไทย
เขต 8 นายปวีณ แซ่จึง พรรคเพื่อไทย

สกลนคร พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายอภิชาต ตีรสวัสดิชัย พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายนิยม เวชกามา พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายนริศร ทองธิราช พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายพัฒนา สัพโส พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นางอนุรักษ์ บุญศล พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายเสรี สาระนันท์ พรรคเพื่อไทย
เขต 7 นายเกษม อุประ พรรคเพื่อไทย

สุรินทร์
เขต 1 นายปกรณ์ มุ่งเจริญพร พรรคภูมิใจไทย
เขต 2 นางปิยะดา มุ่งเจริญพร พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นางคุณากร ปรีชาชนะชัย พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายตี๋ใหญ่ พูนศรีธนากูล พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม พรรคเพื่อไทย
เขต 6 จ.ส.ต.ประสิทธ์ ไชยศรีษะ พรรคเพื่อไทย
เขต 7 นายสมบัติ ศรีสุรินทร์ พรรคเพื่อไทย
เขต 8 นายชูศักดิ์ แอกทอง พรรคเพื่อไทย

หนองคาย พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายพงศ์พันธ์ สุนทรชัย พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายสมคิด บาลไธสง พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นางชมภู จันทาทอง พรรคเพื่อไทย

หนองบัวลำภู พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายไชยา พรหมา พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายวิชัย สามิตร พรรคเพื่อไทย

อุดรธานี พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายศราวุธ เพชรพนมพร พรรคเพื่อไทย
เขต 2 พ.ต.ท.สุรทิน พิมานเมฆินทร์ พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายอนันต์ ศรีพันธ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายขจิตร ชัยนิคม พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายทองดี มนิสสาร พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายเกียรติอุดม เมนะสวัสดิ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 7 นายจักรพรรดิ ไชยสาส์น พรรคเพื่อไทย
เขต 8 นายเกรียงศักดิ์ ฝ้ายสีงาม พรรคเพื่อไทย
เขต 9 นางเทียบจุฑา ขาวขำ พรรคเพื่อไทย

อุบลราชธานี
เขต 1 นายวรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นาย ศุภชัย ศรีหล้า พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายวุฒิพงษ์ นามบุตร พรรคประชาธิปัตย์
เขต 4 นายสุพล ฟองงาม พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายสุทธิชัย จรูญเนตร พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายพิสิษฐ์ สันตะพันธ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 7 นายชูวิทย์ กุ่ย พิทักษ์พรพัลลภ พรรคเพื่อไทย
เขต 8 น.ส.บุณย์ธิดา สมชัย พรรคประชาธิปัตย์
เขต 9 นายปัญญา จินตะเวช พรรคเพื่อไทย
เขต 10 นายสมคิด เชื้อคง พรรคเพื่อไทย
เขต 11 นายตุ่น จินตะเวช พรรคชาติไทยพัฒนา

อำนาจเจริญ
เขต 1 นางสมหญิง บัวบุตร พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายอภิวัฒน์ เงินหมื่น พรรคประชาธิปัตย์

ภาคกลาง

กาญจนบุรี
เขต 1 พลเอกสมชาย วิษณุวงศ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายฉัตรพันธ์ เดชกิจสุนทร พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายประชา โพธิพิพิธ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 5 นางศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 1 นายธวัชชัย อนามพงษ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายยุคล ชนะวัฒน์ปัญญา พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายพงศ์เวช เวชชาชีวะ พรรคประชาธิปัตย์

ฉะเชิงเทรา
เขต 1 นายบุญเลิศ ไพรินทร์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายสมชัย อัศวชัยโสภณ พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายรส มะลิผล พรรคเพื่อไทย
เขต 4 พลตำรวจโทพิทักษ์ จารุสมบัติ พรรคประชาธิปัตย์

ชลบุรี
เขต 1 นายสุชาติ ชมกลิ่น พรรคพลังชล
เขต 2 นายอุกฤษณ์ ตั๊นสวัสดิ์ พรรคพลังชล
เขต 3 นายรณเทพ อนุวัฒน์ พรรคพลังชล
เขต 4 นายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 5 นายพันธุ์ศักดิ์ เกตุวัตถา พรรคพลังชล
เขต 6 นางสุกุมล คุณปลื้ม พรรคพลังชล
เขต 7 นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ พรรคพลังชล
เขต 8 พลเรือเอกสุรพล จันทน์แดง พรรคเพื่อไทย


ชัยนาท พรรคภูมิใจไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นางพรทิวา นาคาศัย พรรคภูมิใจไทย
เขต 2 นางนันทนา สงฆ์ประชา พรรคภูมิใจไทย

ตราด
เขต 1 นายธีระ สลักเพชร พรรคประชาธิปัตย์

นครนายก
เขต 1 นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร พรรคภูมิใจไทย

นครปฐม
เขต 1 พันโทสินธพ แก้วพิจิตร พรรคชาติไทยพัฒนา
เขต 2 นายรัฐกร เจนกิจณรงค์ พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายก่อเกียรติ สิริยะเสถียร พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายอนุชา สะสมทรัพย์ พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ พรรคเพื่อไทย

นนทบุรี พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายนิทัศน์ ศรีนนท์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายอุดมเดช รัตนเสถียร พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นางวไลพร อัจฉริยะประสิทธิ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายมนตรี ตั้งเจริญถาวร พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายวันชัย เจริญนนทสิทธิ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายฉลอง เรี่ยวแรง พรรคเพื่อไทย

ปทุมธานี พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายสุทิน นพขำ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายสุรพงษ์ อึ่งอัมพรวิไล พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายสมศักดิ์ ใจแคล้ว พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นางสาวพรพิมล ธรรมสาร พรรคเพื่อไทย
เขต 5 ว่าที่ร้อยตรีสุเมธ ฤทธาคนี พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายชูชาติ หาญสวัสดิ์ พรรคเพื่อไทย

ประจวบคีรีขันธ์ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายมนตรี ปาน้อยนนท์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายประมวล พงศ์ถาวราเดช พรรคประชาธิปัตย์

ปราจีนบุรี
เขต 1 นายอำนาจ วิลาวัลย์ พรรคภูมิใจไทย
เขต 2 นายชยุต ภุมมะกาญจนะ พรรคชาติไทยพัฒนา
เขต 3 นางเพชรินทร์ เสียงเจริญ พรรคภูมิใจไทย

พระนครศรีอยุธยา
เขต 1 นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร พรรคชาติไทยพัฒนา
เขต 2 นายพ้อง ชีวานันท์ พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายวิทยา บุรณศิริ พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายองอาจ วชิรพงศ์ พรรคเพื่อไทย

เพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์ได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายอรรถพร พลบุตร พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายกัมพล สุภาแพ่ง พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายอภิชาต สุภาแพ่ง พรรคประชาธิปัตย์

ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายสาธิต ปิตุเตชะ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายบัญญัติ เจตนจันทร์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายธารา ปิตุเตชะ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 4 นายวิชัย ล้ำสุทธิ พรรค ประชาธิปัตย์

ราชบุรี
เขต 1 นายมานิต นพอมรบดี พรรคภูมิใจไทย
เขต 2 นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา พรรคภูมิใจไทย
เขต 3 นางปารีณา ไกรคุปต์ พรรคชาติไทยพัฒนา
เขต 4 นางสาวชะวรลัทธิ์ ชินธรรมมิตร พรรคภูมิใจไทย
เขต 5 นายบุญดำรง ประเสริฐโสภา พรรคภูมิใจไทย

ลพบุรี
เขต 1 นายพิชัย เกียรติวินัยสกุล พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นางสาวมัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช พรรคภูมิใจไทย
เขต 3 นายอำนวย คลังผา พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายเกียรติ เหลืองขจรวิทย์ พรรคภูมิใจไทย

สมุทรปราการ
เขต 1 นางอรุณลักษณ์ กิจเลิศไพโรจน์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายประเสริฐ ชัยกิจเด่นนภาลัย พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นางอนุสรา ยังตรง พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายวรชัย เหมะ พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นางสลิลทิพย์ สุขวัฒน์ พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นางสาวเรวดี รัศมิทัศ พรรคภูมิใจไทย
เขต 7 นายประชา ประสพดี พรรคเพื่อไทย

สมุทรสงคราม
เขต 1 นางสาวรังสิมา รอดรัศมี พรรคประชาธิปัตย์

สมุทรสาคร พรรคประชาธิปัตย์ ได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายครรชิต ทับสุวรรณ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นาวาตรี สุธรรม ระหงษ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายนิติรัฐ สุนทรวร พรรคประชาธิปัตย์

สระแก้ว พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายฐานิสร์ เทียนทอง พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นางสาวตรีนุช เทียนทอง พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายสรวงศ์ เทียนทอง พรรคเพื่อไทย

สระบุรี
เขต 1 นางสาวกัลยา รุ่งวิจิตรชัย พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายอรรถพล วงษ์ประยูร พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายวัชรพงศ์ คูวิจิตรสุวรรณ พรรคภูมิใจไทย
เขต 4 นายองอาจ วงษ์ประยูร พรรคเพื่อไทย

สิงห์บุรี
เขต 1 นายสุรสาล ผาสุขทวี พรรคเพื่อไทย

สุพรรณบุรี
เขต 1 นายสรชัด สุจิตต์ พรรคชาติไทยพัฒนา
เขต 2 นายชาญชัย ประเสริฐสุวรรณ พรรคชาติไทยพัฒนา
เขต 3 นายนพดล มาตรศรี พรรคชาติไทยพัฒนา
เขต 4 นางสาวพัชรี โพธสุธน พรรคชาติไทยพัฒนา
เขต 5 นายสหรัฐ กุลศรี พรรคเพื่อไทย

อ่างทอง พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายภราดร ปริศนานันทกุล พรรคชาติไทยพัฒนา
เขต 2 นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล พรรคชาติไทยพัฒนา

อุทัยธานี
เขต 1 นายกุลเดช พัวพัฒนกุล พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายชาดา ไทยเศรษฐ์ พรรคชาติไทยพัฒนา

ภาคใต้

กระบี่
เขต 1 นายสาคร เกี่ยวข้อง พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายสุชีน เอ่งฉ้วน พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล พรรคประชาธิปัตย์

ชุมพร
เขต 1 นายชุมพล จุลใส พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายสราวุธ อ่อนละมัย พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายธีระชาติ ปางวิรุฬรักษ์ พรรคประชาธิปัตย์

ตรัง
เขต 1 นายสุกิจ อัถโถปกรณ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายสมชาย โล่สถาพรพิพิธ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 4 นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล พรรคประชาธิปัตย์

นครศรีธรรมราช
เขต 1 นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นางสาวนริศา อดิเทพวรพันธ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายวิทยา แก้วภราดัย พรรคประชาธิปัตย์
เขต 4 นายอภิชาต การิกาญจน์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 5 นายประกอบ รัตนพันธ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 6 นายเทพไท เสนพงศ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 7 นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 8 นายสุรเชษฐ์ มาศดิตถ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 9 นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล พรรคประชาธิปัตย์

นราธิวาส
เขต 1 นายกูอาเซ็ม กูจินามิง พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายสุรเชษฐ์ แวอาแซ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายรำรี มามะ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 4 นายเจะอามิง โตะตาหยง พรรคประชาธิปัตย์

ปัตตานี
เขต 1 นายอันวาร์ สาและ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายอิสมาแอล เบญอิบรอฮีม พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายอนุมัติ ซูสารอ พรรคมาตุภูมิ
เขต 4 นายสมมุติ เบ็ญจลักษณ์ พรรคภูมิใจไทย

พังงา
เขต 1 นางกันตวรรณ ตันเถียร กุลจรรยาวิวัฒน์ พรรคประชาธิปัตย์

พัทลุง
เขต 1 นางสาวสุพัชรี ธรรมเพชร พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายนริศ ขำนุรักษ์ พรรคประชาธิปัตย์

ภูเก็ต
เขต 1 นางอัญชลี เทพบุตร พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายเรวัต อารีรอบ พรรคประชาธิปัตย์

ยะลา
เขต 1 นายประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายอับดุลการิม เด็งระกีนา พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายณรงค์ ดูดิง พรรคประชาธิปัตย์

ระนอง
เขต 1 นายวิรัช ร่มเย็น พรรคประชาธิปัตย์

สงขลา
เขต 1 นายเจือ ราชสีห์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายภิรพล ลาภาโรจน์กิจ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายวิรัตน์ กัลยาศิริ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 4 นายชัยวุฒิ ผ่องแผ้ว พรรคประชาธิปัตย์
เขต 5 นายประพร เอกอุรุ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 6 นายถาวร เสนเนียม พรรคประชาธิปัตย์
เขต 7 นายศิริโชค โสภา พรรคประชาธิปัตย์
เขต 8 พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ พรรคประชาธิปัตย์

สตูล
เขต 1 นายธานินทร์ ใจสมุทร พรรคชาติไทยพัฒนา
เขต 2 นายฮอซาลี ม่าเหร็ม พรรคประชาธิปัตย์

สุราษฎร์ธานี
เขต 1 นายธานี เทือกสุบรรณ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นางโสภา กาญจนะ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 4 นายเชน เทือกสุบรรณ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 5 นายสินิตย์ เลิศไกร พรรคประชาธิปัตย์
เขต 6 นายธีรภัทร พริ้งศุลกะ พรรคประชาธิปัตย์

มรดกโลก



มรดกโลก World Heritage Site คืออะไร?

มรดกโลก (อังกฤษ: World Heritage Site; ฝรั่งเศส: Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต

ใน พ.ศ. 2553 มีมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 911 แห่ง แบ่งออกเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 704 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 180 แห่ง และมรดกโลกแบบผสม 27 แห่ง ตั้งอยู่ใน 151 ประเทศ[1][2] โดยอิตาลีเป็นประเทศที่มีจำนวนมรดกโลกมากที่สุด คือ 44 แห่ง แม้ว่ายูเนสโกจะอ้างอิงถึงมรดกโลกแต่ละแห่งด้วยหมายเลข แต่การขึ้นทะเบียนในหลายครั้งก็จะผนวกเอามรดกโลกที่ได้ขึ้นทะเบียนไปแล้วเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกที่มีพื้นที่มากขึ้น ดังนั้นจึงมีหมายเลขมรดกโลกเกิน 1,200 ไปแล้วแม้ว่าจะมีจำนวนมรดกโลกน้อยกว่าก็ตาม
มรดกโลกแต่ละแห่งเป็นทรัพย์สินของประเทศที่เป็นเจ้าของดินแดนที่มรดกโลกตั้งอยู่ แต่ได้ถูกพิจารณาให้เป็นผลประโยชน์ของประชาคมระหว่างประเทศในการอนุรักษ์มรดกโลกแห่งนั้น





การแบ่งประเภทของมรดกโลก?

มรดกโลกแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) และ มรดกทางธรรมชาติ (Natural Heritage) ซึ่งในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกได้ให้คำนิยามไว้ว่า

มรดกทางวัฒนธรรม หมายถึง สถานที่ซึ่งเป็นโบราณสถานไม่ว่าจะเป็นงานด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม หรือแหล่งโบราณคดีทางธรรมชาติ เช่น ถ้ำ หรือกลุ่มสถานที่ก่อสร้างยกหรือเชื่อมต่อกันอันมีความเป็นเอกลักษณ์ หรือแหล่งสถานที่สำคัญอันอาจเป็นผลงานฝีมือมนุษย์หรือเป็นผลงานร่วมกันระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ รวมทั้งพื้นที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี ซึ่งสถานที่เหล่านี้มีคุณค่าความล้ำเลิศทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ มนุษยวิทยา หรือวิทยาศาสตร์
มรดกทางธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพอันมีคุณค่าเด่นชัดในด้านความล้ำเลิศทางวิทยาศาสตร์ หรือเป็นสถานที่ซึ่งมีสภาพทางธรณีวิทยาและภูมิประเทศที่ได้รับการวิเคราะห์แล้วว่าเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและสัตว์ ซึ่งถูกคุกคาม หรือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของพืชหรือสัตว์ที่หายาก เป็นต้น




ขั้นตอนการสมัครเป็นสมาชิกมรดกโลก?

ประเทศที่ต้องการเสนอชื่อสถานที่ในประเทศของตนให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อันดับแรกจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรรมชาติและวัฒนธรรมทั้งหมดภายในประเทศของตน บัญชีนี้จะเรียกว่า บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะมีเพียงสถานที่ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีนี้เท่านั้นที่จะมีสิทธิ์ได้รับการเสนอชื่อ ขั้นต่อมา ประเทศนั้นๆจะต้องเลือกรายชื่อสถานที่ที่ต้องการเสนอชื่อมาจากบัญชีรายชื่อเบื้องต้น เพื่อจัดทำเป็นแฟ้มข้อมูล (Nomination File) โดยทางศูนย์มรดกโลกอาจให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการจัดทำแฟ้มข้อมูลนี้
เมื่อถึงขั้นตอนนี้ แฟ้มข้อมูลจะถูกตรวจสอบ และพิจารณาจากองค์กรที่ปรึกษา ได้แก่ “สภาระหว่างประเทศว่าด้วยโบราณสถานและแหล่งโบราณคดี” (The International Council on Monuments and Sites หรือ ICOMOS) และ "ศูนย์ระหว่างชาติว่าด้วยการศึกษา การอนุรักษ์ และปฏิสังขรณ์สมบัติทางวัฒนธรรม" (The International Centre for the Study of the Preservation and Restoration of the Cultural Property หรือ ICCROM) ในส่วนของมรดกทางวัฒนธรรมและ "สหภาพการอนุรักษ์โลก" (The World Conservation Union หรือ IUCN) ในส่วนของมรดกทางธรรมชาติ แล้วทั้งสามองค์กรนี้จะยื่นข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการมรดกโลก ทางคณะกรรมการจะมีการประชุมร่วมกันปีละหนึ่งครั้ง เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่มีการเสนอชื่อแห่งใดบ้างที่ควรได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก หรือทางคณะกรรมการอาจร้องขอให้ประเทศที่เสนอชื่อได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่เพิ่มเติม โดยการพิจารณาว่าจะขึ้นทะเบียนสถานที่แห่งใดจะต้องมีลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ
มรดกโลกที่ขึ้นบัญชีเอาไว้ในขณะนี้? และ มรดกไทยที่ขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกแล้ว?
รายชื่อแหล่งมรดกโลกในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก..

อัฟกานิสถาน (2)
2545 (2002) - ว - Minaret and Archaeological Remains of Jam
2546 (2003) - ว - ทิวทัศน์และแหล่งโบราณคดีแห่งหุบเขาบามิยัน
อาร์เมเนีย (3)
2539 (1996) - ว - Monasteries of Haghpat and Sanahin
2543 (2000) - ว - Cathedral and Churches of Echmiatsin and the Archaeological Site of Zvartnots
2543 (2000) - ว - Monastery of Geghard and the Upper Azat Valley
ออสเตรเลีย (18)
2524 (1981) - ธ - เกรตแบเรียร์รีฟ
2524 (1981) - ผ - Kakadu National Park
2524 (1981) - ผ - Willandra Lakes Region
2525 (1982) - ธ - Lord Howe Island
2525 (1982) - ผ - Tasmanian Wilderness
2529 (1986) - ธ - Gondwana Rainforests of Australia
2530 (1987) - ผ - Uluru-Kata Tjuta National Park
2531 (1988) - ธ - Wet Tropics of Queensland
2534 (1991) - ธ - อ่าวชาร์ก
2535 (1992) - ธ - เกาะเฟรเซอร์
2537 (1994) - ธ - Australian Fossil Mammal Sites (Riversleigh/Naracoorte)
2540 (1997) - ธ - เกาะเฮิร์ดและหมู่เกาะแมกดอนัลด์
2540 (1997) - ธ - Macquarie Island
2543 (2000) - ธ - Greater Blue Mountains Area
2546 (2003) - ธ - Purnululu National Park
2547 (2004) - ว - Royal Exhibition Building and Carlton Gardens
2550 (2007) - ว - โรงอุปรากรซิดนีย์
2553 (2010) - ว - สถานที่คุมขังนักโทษ ออสเตรเลีย
อาเซอร์ไบจาน (2)
2543 (2000) - ว - Walled City of Baku
2550 (2007) - ว - Gobustan Rock Art Cultural Landscape
บังกลาเทศ (3)
2528 (1985) - ว - นครมัสยิดประวัติศาสตร์บาเครหัต
2528 (1985) - ว - แหล่งวิหารทางพุทธศาสนาพาฮาร์ปุระ
2540 (1997) - ธ - ซันดาร์บัน
กัมพูชา (2)
2533 (1990) - ว - เมืองพระนคร (อังกอร์)
2551 (2008) - ว - ปราสาทพระวิหาร
จีน (41)
2530 (1987) - ว - พระราชวังแห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงในปักกิ่งและเฉิ่นหยาง
2530 (1987) - ว - สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้
2530 (1987) - ว - ถ้ำผาม่อเกา
2530 (1987) - ว - แหล่งขุดค้นทางโบราณคดีมนุษย์ปักกิ่ง โจวโข่วเตี้ยน
2530 (1987) - ว - กำแพงเมืองจีน
2530 (1987) - ผ - เขาไท่ซาน
2533 (1990) - ผ - เขาหวงซาน
2535 (1992) - ธ - ภูมิทัศน์แห่งหวงหลงและพื้นที่ประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ
2535 (1992) - ธ - ภูมิทัศน์แห่งหุบเขาจิ่วจ้ายโกวและพื้นที่ประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ
2535 (1992) - ธ - ภูมิทัศน์แห่งอู่หลิงหยวนและพื้นที่ประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ
2537 (1994) - ว - หมู่โบราณสถานบนเทือกเขาอู่ตัง (บู๊ตึ๋ง)
2537 (1994) - ว - กลุ่มโบราณสถานพระราชวังโปตาลาในลาซา
2537 (1994) - ว - สถานที่พักร้อนและหมู่วัดในเฉิงเต๋อ
2537 (1994) - ว - ศาลและสุสานขงจื๊อรวมทั้งคฤหาสน์ของตระกูลขงที่ชูฟู่
2539 (1996) - ว - อุทยานแห่งชาติเขาหลูซาน
2539 (1996) - ผ - เขาเอ๋อเหมยซานและพระพุทธรูปเล่อซาน (เขาง้อไบ๊)
2540 (1997) - ว - เมืองโบราณผิงเหยา
2540 (1997) - ว - สวนโบราณ เมืองซูโจว
2540 (1997) - ว - เมืองเก่าลี่เจียง
2541 (1998) - ว - พระราชวังฤดูร้อนและอุทยานในกรุงปักกิ่ง
2541 (1998) - ว - หอสักการะฟ้าเทียนถัน
2542 (1999) - ว - งานแกะสลักหินต้าสู (พระพุทธรูปหินแกะสลัก)
2542 (1999) - ผ - เขาอู่อี๋ซาน
2543 (2000) - ว - หมู่บ้านโบราณตอนใต้ของมณฑลอานฮุย ซีตี้และหงชุน
2543 (2000) - ว - สุสานจักรพรรดิราชวงศ์หมิงและชิง
2543 (2000) - ว - ถ้ำผาหลงเหมิน
2543 (2000) - ว - เขาชิงเฉิงและระบบชลประทานตูเจียงเอี้ยน
2544 (2001) - ว - ถ้ำผาหยุนกัง
2546 (2003) - ธ - แดนน้ำสามสายในเขตคุ้มครองมณฑลยูนนาน
2547 (2004) - ว - เมืองหลวงและสุสานของอาณาจักรโกคูรยอโบราณ
2548 (2005) - ว - ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์แห่งมาเก๊า
2549 (2006) - ธ - ศูนย์อนุรักษ์แพนด้าเสฉวน
2549 (2006) - ว - ยินซู
2550 (2007) - ว - ไคผิงเตียวโหลวและหมู่บ้าน
2550 (2007) - ธ - คาร์สต์ในตอนใต้ของจีน
2551 (2008) - ว - บ้านดินถู่โหล
2551 (2008) - ธ - อุทยานแห่งชาติซานชิงซาน
2552 (2009) - ว - เขาอู่ไถ
2553 (2010) - ว - อนุสาวรีย์ทางประวัติศาสตร์แห่งเติงเฟิง "ศูนย์กลางแห่งสวรรค์และโลก"
2553 (2010) - ธ - ตานเสีย
2554 (2011) - ว - ทิวทัศน์ทางวัฒนธรรมแห่งทะเลสาบตะวันตกในนครหางโจว
จอร์เจีย (3)
2537 (1994) - ว - Bagrati Cathedral in Kutaisi and Gelati Monastery
2537 (1994) - ว - Historical Monuments of of Mtskheta
2539 (1996) - ว - Upper Svaneti
อินเดีย (27)
2526 (1983) - ว - ป้อมอัครา
2526 (1983) - ว - ถ้ำอชันตา
2526 (1983) - ว - ทัชมาฮัล
2526 (1983) - ว - ถ้ำเอลลอรา
2527 (1984) - ว - กลุ่มอนุสาวรีย์ที่มหาพลีปุรัม
2527 (1984) - ว - Konark Sun Temple
2528 (1985) - ธ - อุทยานแห่งชาติคาซีรันกา
2528 (1985) - ธ - อุทยานแห่งชาติเคโอลาเดโอ
2528 (1985) - ธ - เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามานัส
2529 (1986) - ว - Churches and Convents of Goa
2529 (1986) - ว - Khajuraho Group of Monuments
2529 (1986) - ว - Group of Monuments at Hampi
2529 (1986) - ว - Fatehpur Sikri
2530 (1987) - ว - ถ้ำเอเลฟันตา
2530 (1987) - ธ - อุทยานแห่งชาติซุนดาร์บันส์
2530 (1987) - ว - Great Living Chola Temples
2530 (1987) - ว - Group of Monuments at Pattadakal
2531 (1988) - ธ - อุทยานแห่งชาตินนันทาเทวีและหุบเขาดอกไม้
2532 (1989) - ว - สิ่งก่อสร้างทางพุทธศาสนาที่สาญจิ
2536 (1993) - ว - Humayun's Tomb, Delhi
2536 (1993) - ว - Qutub Minar and its Monuments
2542 (1999) - ว - Mountain Railways of India (ขยายขอบเขตอีกในปี 2548 และ 2551)
2545 (2002) - ว - Mahabodhi Temple Complex
2546 (2003) - ว - Rock Shelters of Bhimbetka
2547 (2004) - ว - Chhatrapati Shivaji Terminus
2547 (2004) - ว - Champaner-Pavagadh Archaeological Park
2550 (2007) - ว - ป้อมแดง
2553 (2010) - ว - จันทรามันตรา
อินโดนีเซีย (7)
2534 (1991) - ว - กลุ่มวัดบุโรพุทโธ
2534 (1991) - ธ - อุทยานแห่งชาติอูจุงกูลอน
2534 (1991) - ธ - อุทยานแห่งชาติโคโมโด
2534 (1991) - ว - กลุ่มวัดพรัมบานัน
2539 (1996) - ว - แหล่งมนุษย์ยุคเริ่มแรกซังงีรัน
2542 (1999) - ธ - อุทยานแห่งชาติโลเรนซ์
2547 (2004) - ธ - มรดกของป่าฝนเขตร้อนบนเกาะสุมาตรา
อิหร่าน (12)
2522 (1979) - ว -
Naghsh-i Jahan Square
2522 (1979) - ว - Tchogha Zanbil
2522 (1979) - ว - เปอร์เซโปลิส
2546 (2003) - ว - Takht-e Soleyman
2547 (2004) - ว - Bam and its Cultural Landscape
2547 (2004) - ว - Pasargadae
2548 (2005) - ว - Dome of Soltaniyeh
2549 (2006) - ว - Bisotun
2551 (2008) - ว - ป้อมวิหารอาร์เมเนีย
2552 (2009) - ว - Shushtar Historical Hydraulic System
2553 (2010) - ว - อนุสาวรีย์บรรจุพระศพ ชีค ซาฟี อัลดิน เมืองอาร์ดาบิล
2553 (2010) - ว - ตลาดประวัติศาสตร์ทาบรีซ
อิสราเอล (7)
2524 (1981) - ว - Old City of Jerusalem and its Walls
2544 (2001) - ว - มาซาดา
2544 (2001) - ว - Old City of Acre
2546 (2003) - ว - นครสีขาวแห่งเทลอาวีฟ
2548 (2005) - ว - Biblical Tels - Megiddo, Hazor, Beer Sheba
2548 (2005) - ว - Incense Route - Cities in the Negev - Haluza, Mamshit, Avdat, Shivta
2551 (2008) - ว - สถานที่ศักดิ์สิทธิ์บาฮาอิในเมืองไฮฟา และอาลิลีตะวันออก
ญี่ปุ่น (16)
2536 (1993) - ว - ฮิเมจิโจ (ปราสาทฮิเมจิ)
2536 (1993) - ว - วัดโฮริวและสิ่งก่อสร้างทางพุทธศาสนาใกล้เคียง
2536 (1993) - ธ - ชิระคะมิซันจิ (เทือกเขาชิระคะมิ)
2536 (1993) - ธ - ยะกุชิมะ (เกาะยะกุ)
2537 (1994) - ว - อนุสาวรีย์ทางประวัติศาสตร์แห่งเมืองเกียวโตะ
2538 (1995) - ว - หมู่บ้านทางประวัติศาสตร์แห่งชิระงะวะโงและโกะกะยะมะ
2539 (1996) - ว - ศาลเจ้าอิสึกุชิมะ
2539 (1996) - ว - อนุสรณ์สันติภาพฮิโระชิมะ (โดมปรมาณู)
2541 (1998) - ว - อนุสาวรีย์ทางประวัติศาสตร์แห่งเมืองนะระ
2542 (1999) - ว - ศาลเจ้าและวัดแห่งนิกโก
2543 (2000) - ว - แหล่งกุซุกุและสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวข้องของอาณาจักรริวกิว
2547 (2004) - ว - สถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเส้นทางแสวงบุญบนเทือกเขาคิอิ
2548 (2005) - ธ - ชิเระโตะโกะ
2550 (2007) - ว - เหมืองเงินอิวะมิและภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม
2554 (2011) - ธ - หมู่เกาะโอะกะซะวะระ
2554 (2011) - ว - ฮิระอิซุมิ
คาซัคสถาน (3)
2546 (2003) - ว - อนุสาวรีย์บรรจุศพของโฮยา อะเหม็ด ยาซาวี
2547 (2004) - ว - จิตรกรรมขูดหินภายในภูมิทัศน์ทางโบราณคดีแห่งทัมกาลีย์
2551 (2008) - ธ - ซาร์ยาร์กา — ทุ่งกว้างและทะเลสาบทางตองเหนือของคาซัคสถาน
คิริบาส (1)
2553 (2010) - ธ - พื้นที่อนุรักษ์หมู่เกาะฟินิกซ์
คีร์กีซสถาน (1)
2552 (2009) - ว - Sulaiman-Too Sacred Mountain


ลาว (2)
2538 (1995) - ว - เมืองหลวงพระบาง
2544 (2001) - ว - ปราสาทหินวัดพูและสิ่งก่อสร้างใกล้เคียงในแขวงจำปาสัก
มาเลเซีย (3)
2543 (2000) - ธ - อุทยานกีนาบาลู
2543 (2000) - ธ - อุทยานแห่งชาติกุนุงมูลู
2551 (2008) - ว - มะละกาและจอร์จทาวน์ นครประวัติศาสตร์บนช่องแคบมะละกา
หมู่เกาะมาร์แชลล์ (1)
2553 (2010) - ว - เกาะปะการังบิกินี่ สถานที่ทดลองนิวเคลียร์
มองโกเลีย (2)
2546 (2003) - ธ - รุ่มน้ำอุฟส์นู (ร่วมกันสหพันธรัฐรัสเซีย)
2547 (2004) - ว - ทิวทัศน์และแหล่งวัฒนธรรมแห่งหุบเขาโอร์ฮอน
เนปาล (4)
2522 (1979) - ว - หุบเขากาฐมาณฑุ
2522 (1979) - ธ - อุทยานแห่งชาติสการมาถา
2527 (1984) - ธ - อุทยานแห่งชาติชิตวัน
2540 (1997) - ว - ลุมพินี สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า
นิวซีแลนด์ (3)
2533 (1990) - ธ - เท วาฮีโปอูนามู - นิวซีแลนด์ตะวันตกเฉียงใต้
2533 (1990) - ผ - อุทยานแห่งชาติตองการิโร
2541 (1998) - ธ - หมู่เกาะกึ่งขั่วโลกใต้แห่งนิวซีแลนด์
เกาหลีเหนือ (1)
2547 (2004) - ว - หมู่สุสานโกคูรยอ
ปากีสถาน (6)
2523 (1980) - ว - กลุ่มซากโบราณคดีที่โมเอนโจดาโร
2523 (1980) - ว - ตักสิลา
2523 (1980) - ว - Buddhist Ruins at Takht-i-Bahi and Neighbouring City Remains at Sahr-i-Bahlol
2524 (1981) - ว - ป้อมและสวนชาลามาร์แห่งลาฮอร์
2524 (1981) - ว - กลุ่มอนุสาวรีย์ประวัติศาสตร์แห่งทัตตา
2540 (1997) - ว - ป้อมโรห์ตัส
ปาปัวนิวกินี (1)
2551 (2008) - ว - Kuk Early Agricultural Site
ฟิลิปปินส์ (5)
2536 (1993) - ธ - อุทยานปะการังทางทะเลทุบบาตาฮะ
2536 (1993) - ว - โบสถ์ยุคบารอคแห่งฟิลิปปินส์
2538 (1995) - ว - นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์
2542 (1999) - ว - นครประวัติศาสตร์วีกัน
2542 (1999) - ธ - อุทยานแห่งชาติแม่น้ำใต้ดินปวยร์โต-ปรินเซซา
รัสเซีย (ส่วนที่อยู่ในเอเชีย) (8)
2539 (1996) - ธ - กลุ่มภูเขาไฟคัมชัตคา (ขยายเพิ่มปี 2544)
2539 (1996) - ธ - ทะเลสาบไบคาล
2541 (1998) - ธ - Golden Mountains of Altai
2544 (2001) - ธ - แนวเขาซีโคเต-อะลินตอนกลาง
2546 (2003) - ธ - รุ่มน้ำอุฟส์นู (ร่วมกันมองโกเลีย)
2547 (2004) - ธ - Natural System of Wrangel Island Reserve
2542 (1999) - ธ - Western Caucasus (รวมอยู่ในทวีปยุโรปด้วย)
2546 (2003) - ว - Citadel, Ancient City and Fortress Buildings of Derbent, Dagestan (รวมอยู่ใทวีปยุโรปด้วย)
หมู่เกาะโซโลมอน (1)
2541 (1998) - ธ - เรนเนลล์ตะวันออก
เกาหลีใต้ (10)
2538 (1995) - ว - ถ้ำซกกุรัมและวัดพุลกุกซา
2538 (1995) - ว - วัดแฮอินซา จังยองพันจอน สถานที่เก็บพระไตรปิฎกไม้เกาหลี
2538 (1995) - ว - ศาลเจ้าจงเมียว
2540 (1997) - ว - พระราชวังชางด๊อกกุง
2540 (1997) - ว - ป้อมฮวาซอง
2543 (2000) - ว - เขตประวัติศาสตร์กยองจู
2543 (2000) - ว - สุสานหินโกชัง ฮวาซุน และกังฮวา
2550 (2007) - ธ - เกาะเชจูและถ้ำลาวา
2552 (2009) - ว - สุสานหลวงราชวงศ์โชซอน
2553 (2010) - ว - หมู่บ้านประวัติศาสตร์ฮาโฮและยางดอง
ศรีลังกา (8)
2525 (1982) - ว - นครประวัติศาสตร์โปลอนนารุวา
2525 (1982) - ว - นครประวัติศาสตร์สิคิริยา
2525 (1982) - ว - เมืองศักดิ์สิทธิ์อนุราธปุระ
2531 (1988) - ว - เมืองเก่าและป้อมแห่งเมืองโกลล์
2531 (1988) - ว - เมืองศักดิ์สิทธิ์คานดี
2531 (1988) - ธ - พื้นที่ป่าสงวนสิงหราชา
2534 (1991) - ว - วัดทองแห่งดัมบุลลา
2553 (2010) - ว - ที่ราบสูงตอนกลางแห่งศรีลังกา
ทาจิกิสถาน (1)
2553 (2010) - ว - แหล่งโบราณคดีซาราสซึม
เติร์กเมนิสถาน (3)
2542 (1999) - ว - อุทยานแห่งชาติทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม "เมียร์ฟโบราณ"
2548 (2005) - ว - คูเนีย - อูร์เกนช์
2550 (2007) - ว - ป้อมปราการมาร์เทียนแห่งนีซา
ไทย (5)
2534 (1991) - ว - นครประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร
2534 (1991) - ว - นครประวัติศาสตร์อยุธยาและเมืองบริวาร
2534 (1991) - ธ - เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง
2535 (1992) - ว - แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
2548 (2005) - ธ - ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่
อุซเบกิสถาน (4)
2533 (1990) - ว - อิตชานคาลาแห่งเมืองคีวา
2536 (1993) - ว - ศูนย์ประวัติศาสตร์บูคารา
2543 (2000) - ว - ศูนย์ประวัติศาสตร์ชาห์รีซับซ์
2544 (2001) - ว - ซามาร์คันด์
วานูอาตู (1)
2551 (2008) - ว - Chief Roi Mata’s Domain
เวียดนาม (6)
2536 (1993) - ว - หมู่โบราณสถานเมืองเว้
2537 (1994) - ธ - อ่าวฮาลอง
2542 (1999) - ว - เมืองโบราณฮอยอัน
2542 (1999) - ว - สถานที่ศักดิ์สิทธิ์หมีเซิน
2546 (2003) - ธ - อุทยานแห่งชาติฟง งา-เค บัง
2553 (2010) - ว - ป้อมปราการหลวงแห่งเมืองทางลอง - ฮานอย

สาเหตุที่ประเทศไทยลาออกจากการเป็นภาคีสมาชิกมรดกโลก?

เมื่อเวลาประมาณ 23.45 น. วันที่ 25 มิถุนายน นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก แถลงที่กรุงปารีส ว่า ไทยได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลกและกรรมการมรดกโลก หลังจากศูนย์มรดกโลกและยูเนสโกไม่ได้ฟังข้อทักท้วงของไทย ทั้งนี้ในร่างมติที่มีการเสนอให้มีการพิจารณา มีเรื่องการเลื่อนแผนบริหารจัดการของเขมรออกไป ซึ่งเป็นไปในแนวทางที่รัฐบาลต้องการ แต่ในร่างมติของยูเนสโกที่เสนอเข้ามา ยอมให้มีการเลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการของเขมรออกไปจริง แต่มีข้อความและข้อกำหนดที่อาจทำให้ไทยเสียเปรียบ
ทั้งนี้มีการเจรจาล็อบบี้กับสมาชิกมาตลอดตั้งแต่เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน มีการหารือกันมาตลอด แต่ก็เห็นได้ชัดว่ายูเนสโกพยายามผลักดันแผนตัวเอง ประเด็นสำคัญที่ฝ่ายไทยรับไม่ได้คือ แผนบูรณะตัวปราสาทพระวิหาร ซึ่งในแผนที่ยูเนสโกเสนอได้ระบุเรื่องการเข้ามาในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ในอธิปไตยของไทย อยู่นอกเหนือจากตัวปราสาทพระวิหาร ขณะเดียวกันพื้นที่รอบตัวปราสาทกัมพูชาก็ได้ยึดครองบางส่วน เป็นพื้นที่ที่ยังไม่มีข้อยุติชัดเจนว่าแนวเขตแดนอยู่ตรงไหน
ก่อนหน้านี้ฝ่ายไทยยังได้นำโมเดลของทางทหารไปชี้แจง เพื่อให้เห็นสภาพที่เกิดขึ้นว่า ถ้าหากมีการขึ้นทะเบียนและรับรองแผนบริหารจัดการของกัมพูชาจะนำไปสู่ความขัดแย้งมากยิ่งขึ้น
นายสุวิทย์ยังย้ำว่า หากไทยลาออกจากคณะกรรมการมรดกโลกแล้ว ผลใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นจากการกระทำของสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกก็จะไม่มีผลผูกพันต่อประเทศไทย หมายความว่า ทางคณะกรรมการมรดกโลกจะให้กัมพูชาเข้าดำเนินกิจกรรมใดๆ ที่เป็นการรุกล้ำเข้ามาในดินแดนของไทยไม่ได้เป็นอันขาด หากว่ามีการประกาศขึ้นทะเบียนพระวิหารเป็นมรดกโลก และยอมรับแผนการจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารของกัมพูชา บางส่วนที่รุกล้ำเข้ามาในฝ่ายไทยนั้น ต้องมีการขออนุญาตรัฐบาลไทยก่อน จะกระทำการใดๆ ไม่ได้ เนื่องจากไทยไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจของคณะกรรมการมรดกโลก และไม่มีผลผูกพันใดๆ
นายสุวิทย์ กล่าวอีกว่า การตัดสินใจลาออกในครั้งนี้ ได้ไตร่ตรองและผ่านการศึกษาอย่างรอบคอบ รวมถึงได้โทรศัพท์พูดคุยกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี รับทราบการตัดสินใจและเห็นว่ารัฐบาลไทยไม่มีทางเลือกในการลาออกจากกรรมการมรดกโลกครั้งนี้ ซึ่งจะเดินทางกลับถึงประเทศไทยในช่วงเช้าวันที่ 27 มิถุนายนนี้

วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บทบาทพระมหากษัตริย์ไทย สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อการพัฒนาชาติไทย


ด้านการเมือง


สถาบัน พระมหากษัตริย์ได้มีบทบาทเกี่ยวกับการเมืองการปกครองการรวมชาติ การสร้างเอกราช การวางรากฐานการเมืองการปกครอง การสร้างเสถียรภาพทางการเมืองการปกครอง การปฏิรูปการปกครองแผ่นดินตั้งแต่อดีตสืบต่อมาตลอดปัจจุบันบทบาทของพระมหา กษัตริย์มีส่วนช่วยสร้างเอกภาพของประเทศเป็นอย่างมาก คนไทยทุกกลุ่มไม่ว่าศาสนาใดมีขนบธรรมเนียมแตกต่างกันอย่างไรก็มีความรู้สึก ร่วมในการมีพระมหากษัตริย์องค์เดียวกัน การเสด็จออกเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่างๆ แม้ท้องถิ่นทุรกันดาร หรือมากด้วยภยันตรายอยู่ตลอดเวลา ทำให้ราษฎรมีขวัญและกำลังใจดี มีความรู้สึกผูกพันกับชาติว่ามิได้ถูกทอดทิ้ง พระราชกรณียกิจดังกล่าวของพระองค์มีส่วนช่วยในการปกครองเป็นอย่างมาก

พระ ราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์นั้นมีมาก และล้วนก่อประโยชน์ให้เกิดขึ้นต่อส่วนรวมทั้งสิ้น แม้การปฏิบัติพระราชกรณียกิจจะเป็นพระราชภาระอันหนัก แต่ก็ได้ทรงกระทำอย่างครบถ้วนสม่ำเสมอ จนกระทั่งสามารถที่จะผูกจิตใจของประชาชนให้เกิดความจงรักภักดี เพาะตระหนักถึงน้ำพระทัยของพระองค์ว่า ทรงเห็นแก่ประโยชน์สุขของส่วนรวมมากกว่าพระองค์เอง ทรงเสียสละยอมทุกข์ยากเพื่อบ้านเมืองอย่างแท้จริงดังพระราชปณิธานของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ที่ว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม


ด้านเศรษฐกิจ


การ พัฒนาและการปฏิรูปที่สำคัญๆ ของชาติส่วนใหญ่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปูพื้นฐานประชาธิปไตย โดยการจัดตั้งกระทรวงต่างๆ ทรงส่งเสริมการศึกษาและเลิกทาส ปัจจุบันพระมหากษัตริย์ทรงเกื้อหนุนวิทยาการสาขาต่างๆ ทรงสนับสนุนการศึกษาและศิลปวัฒนาธรรม ทรงริเริ่มกิจการอันเป็นการแก้ปัญหาหลักทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยจะเห็นว่าโครงการตามพระราชดำริส่วนใหญ่มุ่งแก้ปัญหาหลักทางเกษตรกรรม เพื่อชาวนา ชาวไร่ และประชาชนผู้ยากไร้และด้อยโอกาสอันเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศ เช่น โครงการฝนหลวง ชลประทาน พัฒนาที่ดิน พัฒนาชาวเขา เป็นต้น


ด้านสังคมและวัฒนธรรม


พระ มหากษัตริย์ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจทั้งปวงเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขและความ เจริญแก่สังคม ได้ทรงริเริ่มโครงการต่างๆ ทำให้เกิดการพัฒนาขึ้นทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พระราชดำริและโครงการที่ทรงริเริ่มมีมากซึ่งล้วนแต่เป็นรากฐานในการพัฒนา ชาติทั้งสิ้น โครงการของพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันที่สำคัญ ได้แก่ โครงการอีสานเขียว โครงการฝนหลวง โครงการปลูกป่า โครงการขุดคลองระบายน้ำ โครงการปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดในเมืองใหญ่ โครงการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ ทรงทำเป็นแบบอย่างที่ดีประชาชนและหน่วยราชการนำไปปฏิบัติก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางการพัฒนาชาติขึ้นมาก นอกจากนี้ทรงทำให้เกิดความคิดในการดำรงชีวิตแบบใหม่ เช่น การประกอบอาชีพ การใช้วิทยาการมาช่วยทำให้สังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น


ด้านการต่างประเทศ


พระ มหากษัตริย์ในอดีตได้ทรงดำเนินวิเทโศบายได้อย่างดีจนสามารถรักษาเอกราชไว้ ได้ โดยเฉพาะสมัยการล่าเมืองขึ้นในรัชกาลที่ 4 และ รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันก็ทรงดำเนินการให้เกิดความ เข้าใจอันดี ความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศต่างๆ กับประเทศไทย โดยเสด็จพระราชดำเนินเป็นทูตสันถวไมตรีกับประเทศต่างๆ ไม่น้อยกว่า 31 ประเทศ ทำให้นโยบายต่างประเทศดำเนินไปอย่างสะดวกและราบรื่น นอกจากนั้นยังทรงเป็นผู้แทนประเทศไทยต้อนรับประมุขประเทศ ผู้นำประเทศ เอกอัครราชทูต และทูตสันถวไมตรีจากต่างประเทศอีกด้วย 

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ถึงปัจจุบัน


สังคมไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
หลังการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ พ.ศ. 2475 ในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ขึ้นครองราชย์นั้น สังคมไทยได้ก้าวสู่ความเป็นอารยะตามแบบตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเจริญที่ปรากฏอยู่ในรูปของวัตถุไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง รถไฟ ไฟฟ้า ประปา เขื่อนชลประทาน โรงพยาบาล ระบบการสื่อสารคมนาคม ที่ทำการรัฐบาล ห้างร้าน และตึกรามบ้านช่อง ตลอดจนเครื่องใช้อันทันสมัย อันมีเจ้านายและชนชั้นสูงเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ส่วนชาวบ้านสามัญชนเป็นผู้ตาม นอกจากนั้นยังมีการเปลี่ยนแปลงในขนบธรรมเนียมบางอย่างเพื่อให้สอดคล้องกับการปกครองระบบใหม่ ทั้งนี้เพราะรัฐบาลต้องติดต่อกับชาติอื่น ๆ ทั่วโลก จึงต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทยให้เป็นสากลและสอดคล้องกับความเป็นไปของโลก แต่ให้คงเอกลักษณ์ของความเป็นไทยไว้ที่เด่นชัดในสมัยนั้นก็คือเรื่องการแต่งกายในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ( พ.ศ. 2481-2487 ) ได้มีบัญญัติเรียกว่า “ รัฐนิยม “ ซึ่งเป็นการปลุกระดมอย่างรุนแรง ซึ่งแสดงนโยบายของประเทศว่าต้องการให้ประชาชนคนไทยรักหวงแหนและภูมิใจในความเป็นไทย เช่น ให้ข้าราชการแต่งเครื่องแบบตามที่กำหนด ห้ามสวมกางเกงแพร ให้ทักทายกันด้วยคำว่า “ สวัสดี “ ห้ามกินหมาก ให้สวมหมวกทุกครั้งที่ออกจากบ้าน ใช้คำขวัญปลุกใจทุกเช้าก่อนเรียน การยกเลิกบรรดาศักดิ์โดยให้ใช้เพียงชื่อ สกุล เหมือนคนทั่วไป การเคารพธงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงมหรสพ ฯลฯ
สภาพสังคมหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ทำให้สังคมไทยเป็นสังคมประชาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญ คือ
ประชาชนขึ้นมาเป็นเจ้าของประเทศและมีบทบาทในการปกครองประเทศด้วยกระบวนการกฎหมา
ชนชั้นกลาง พวกพ่อค้า ปัญญาชน ขึ้นมามีบทบาทในสังคมแต่ผู้กุมอำนาจยังคงได้แก่ทหารและข้าราชการ
นายทุนเติบโตจากการค้าและอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วพร้อมทั้งมีอิทธิพลและบทบาทจนได้เปรียบในสังคม
เกิดช่องว่างในสังคมทำให้ชาวไร่ ชาวนา และกรรมกรมีฐานะและชีวิตอยู่กับความยากจนและถูกเอารัดเอาเปรียบจากสังคม

พัฒนาการชาติไทยสมัยรัชกาลที่ 4,5,6,7 ด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม


1. ในสมัยรัชการที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนแปลงนโยบาย ต่างประเทศ มาเป็นการคบค้ากับชาวตะวันตก เพื่อความอยู่รอดของชาติ เนื่องจากทรงตระหนักถึงภัยจากลัทธิจักรวรรดินิยม ซึ่งกำลังคุกคามประเทศต่าง ๆ อยู่ในขณะนั้น

2. จุดเริ่ิมของการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศ คือ การทำสนธิสัญญาเบาริง กับอังกฤษ ใน พ.ศ. 2398 โดยพระนางเจ้าวิกตอเรีย ได้แต่งตั้งให้ เซอร์ จอห์น เบาริง เป็นราชทูตเข้ามาเจรจา

3. สาระสำคัญของสนธิสัญเบาริง มีดังนี้
o อังกฤษขอตั้งสถานกงสุลในประเทศไทย
o คนอังกฤษมีสิทธิเช่าที่ดินในประเทศไทยได้
o คนอังกฤษสามารถสร้างวัด และเผยแพร่คริสต์ศาสนาได้
o เก็บภาษีขาเข้าได้ไม่เกินร้อยละ 3
o พ่อค้าอังกฤษและพ่อค้าไทยมีสิทธิค้าขายกันได้โดยเสรี
o สินค้าต้องห้าม ได้แก่่ ข้าว ปลา เกลือ
o ถ้าไทยทำสนธิสัญญากับประเทศอื่น ๆ ที่มีผลประโยชน์เหนือประเทศ อังกฤษ จะต้องทำให้อังกฤษด้วย
o สนธิสัญญานี้ จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ จนกว่าจะใช้แล้ว 10 ปี และในการแก้ไข ต้องยินยอมด้วยกันทั้งสองฝ่าย และ ต้องบอกล่วงหน้า 1 ปี

4. ผลของสนธิสัญญาเบาริง
o ผลดี
1. รอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ
2. การค้าขยายตัวมากขึ้น เปลี่ยนแปลงการค้าเป็นแบบเสรี
3. อารยธรรมตะวันตก เข้ามาแพร่หลาย สามารถนำมาปรับปรุงบ้านเมือง ให้เจริญก้าวหน้ามาขึ้น
o ผลเสีย
1. ไทยเสียสิทธิทางการศาลให้อังกฤษ และคนในบังคับอังกฤษ
2. อังกฤษ เป็นชาติที่ได้รับสิทธิพิเศษหลายอย่าง
3. อังกฤษ เป็นฝ่ายได้เปรียบ จึงไม่ยอมทำการแก้ไข

ผลจากการทำสนธิสัญญาเบาริง ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทำให้สภาพสังคมไทย เปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อนำประเทศให้เจริญก้าวหน้า ตามแบบอารยธรรมตะวันตก การเปลี่ยนแปลง ในด้านต่าง ๆ มีดังนี้

1.ด้านการปกครอง
ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงแก้ไขเปลี่ยนแปลงประเพณีบางอย่าง เพื่อให้ราษฎร มีโอกาสใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ คือ เปิดโอกาสให้ราษฎร เข้าเฝ้าได้โดยสะดวก ให้ราษฎรเข้าเฝ้าถวายฎีการ้องทุกข์ได้ ในขณะที่ทรงเสด็จพระราชดำเนิน ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูปการปกครอง ครั้งสำคัญ โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ การปรับปรุงในระยะแรก ให้ตั้งสภา 2 สภา คือ สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) และ สภาที่ปรึกษาในพระองค์ (Privy Council) กับการปรับปรุงการปกครอง ในระยะหลัง (พ.ศ. 2435) ซึ่งนับว่า เป็นการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ โดยมีลักษณะ คือ การปกครองส่วนกลาง โปรดให้ยกเลิกการปกครอง แบบจตุสดมภ์ และ จัดแบ่งหน่วยราชการเป็นกรมต่าง ๆ 12 กรม (กะรทรวง) มีเสนาบดีเป็นเจ้ากระทรวง การปกครองส่วนภูมิภาค ทรงยกเลิก การจัดหัวเมืองที่แบ่งเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี และจัตวา เปลี่ยนการปกครองเป็น เทศาภิบาล ทรงโปรดให้รวมเมืองหลายเมืองเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาล เป็นผู้ปกครอง ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย กับทรงแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัด (เมือง) อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน และการปกครองส่วนท้องถิ่น เริ่มจัดการทดลองแบบ สุขาภิบาลขึ้นเป็นครั้งแรก

2. ด้านเศรษฐกิจ
ภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาริงแล้ว การค้าของไทยเจริญก้าวหน้าขึ้น มาก ทำให้มีการปรับปรุงด้านเศรษฐกิจ เช่น ในรัชกาลที่ 4 ทรงเปลี่ยนการใช้เงินพดด้วงมาเป็นเงินเหรียญ และขุดคลอง ตัดถนนเพิ่มขึ้นหลายสาย ในสมัยรัชกาลที่ 5 เปลี่ยนมาตราเงินไทยมาใช้ระบบทศนิยม ใช้ทองคำเป็นมาตรฐานเงินตราแทนเงิน ให้ใช้เหรียญบาท สลึง และเหรียญสตางค์แทนเงินแบบเดิม มีการจัดตั้งธนาคารของเอกชนขึ้นเป็นครั้งแรก คือ แบางก์สยามกัมมาจล (ปัจจุบัน คือ ธนาคารไทยพาณิชย์) ในสมัยรัชกาลที่ 6 โปรดให้ตั้งคลังออมสินขึ้น (ปัจจุบันคือ ธนาคารออมสิน)

3.ด้านวัฒนธรรม
ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงประกาศให้ข้าราชการสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า ทรงให้เสรีภาพประชาชน ในการนับถือศาสนาและประกอบอาชีพ โปรดให้สตรีได้ยกฐานให้สูงขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการสวมเสื้อราชปะแตก และสวมหมวกอย่างยุโรป ให้ข้าราชการทหารแต่งเครื่องแบบ ตามแบบตะวันตก โปรดให้ผู้ชายในราชสำนัก ไว้ผมทรงมหาดไทย เปลี่ยนมาไว้ผมตัดยาวทั้งศีรษะแบบฝรั่ง โปรดให้ผู้หญิงเลิกไว้ผมปีก ให้ไว้ผมตัดยาว ที่เรียกว่า "ทรงดอกกระุุทุ่ม" ทรงแก้ไขประเพณีการสืบสันตติวงศ์ โดยยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แล้วโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ขึ้น ทรงเลิกประเพณีหมอบคลานเข้าเฝ้า และให้ยืนเข้าเฝ้าแทน ยกเลิกการโกนผม เมื่อพระมหากษัตริย์สวรรคต ยกเลิกการไต่สวนคดีแบบจารีตนครบาล และที่สำคัญที่สุด ที่พระองค์ทรงได้พระราชสมัญญานาม ว่า "พระปิยมหาราช" ซึ่งแปลว่า มหาราชที่ทรงเป็นที่รักของประชาชน คือการยกเลิกระบบไพร่ และระบบทาส ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงประกาศใช้พระราชบัญญัตินามกสุล โปรดให้ใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) เป็นศักราชทางราชการ แทนรัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เปลี่ยนแปลงการนับเวลาทางราชการ ให้สอดคล้องกับสากลนิยม โปรดให้กำหนดคำนำหน้าชื่อเด็กหญิง เด็กชาย นางสาว และนาง เปลียนแปลงธงประจำชาติ จากธงรูปช้างเผือก มาเป็นธงไตรรงค์ ตรากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ ตามแบบประเทศยุโรป


4.สภาพสังคม
การเลิกทาสในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงดำริว่า การที่ประเทศไทยมีชนชั้นทาสมากเท่ากับเป็นการเสียเศรษฐกิจของชาติ และทำให้ต่างชาติดูถูกและเห็นว่าประเทศไทยป่าเถื่อนด้อยความเจริญ ซึ่งมีผลทำให้ประเทศมหาอำนาจต่างๆ คิดจะเข้าครอบครองไทย โดยอ้างว่า เพื่อช่วยพัฒนาประเทศไทยให้ทัดเทียมประเทศอื่นๆ ที่เจริญแล้วทั้งหลาย
ดังนั้น ใน พ.ศ.2417 พระองค์จึงทรงเริ่มออกพระราชบัญญัติพิกัดกระเษียรอายุลูกทาสลูกไทขึ้น โดยกำหนดค่าตัวทาสอายุ 7-8 ปี มีค่าตัวสูงสุด 12-14 ตำลึง แล้วลดลงเรื่อยๆ เมื่อมีอายุ 21 ปี ค่าตัวจะเหลือเพียง 3 บาท ซึ่งทำให้ทาสมีโอกาสไถ่ตัวเป็นไทได้มากและใน พ.ศ.2420 พระองค์ทรงบริจาคเงินจำนวนหนึ่งเพื่อไถ่ตัวทาสที่อยู่กับเจ้านายมาครบ 25 ปี จำนวน 45 คน พ.ศ.2443 ทรงออกกฎหมายให้ทาสสินไถ่อายุครบ 60 ปี พ้นจากการเป็นทาสและห้ามขายตัวเป็นทาสอีก พ.ศ.2448 ออกพระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124 บังคับทั่วประเทศ ห้ามมีการซื้อทาสต่อไป ให้ลดค่าตัวลงเดือนละ 4 บาท จนครบจำนวนเงิน และให้บรรดาทาสเป็นไททั้งหมด
การเลิกทาสของพระองค์ประสบความสำเร็จอย่างดี เป็นเพราะพระปรีชาญาณและพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ทรงใช้ทางสายกลาง ค่อยๆดำเนินงานไปทีละขั้นตอน ทำให้ไม่เกิดเหตุการณ์รุนแรงดังเช่นประเทศต่างๆ ที่เคยประสบมา